วิธีการเลือกซื้อลู่วิ่งไฟฟ้า

*อย่าเพิ่งซื้อลู่วิ่งไฟฟ้า หากคุณยังไม่เคยอ่านบนความนี้ เพียงใช้เวลาอ่าน 10 นาที เพื่อช่วยคุณประหยัดเงินได้หลักพัน ถึงหมื่น

MEGA Fitness เขียนบทความนี้ขึ้นสำหรับคุณ ที่ยังไม่เคยซื้อลู่วิ่งมาก่อน หรือคนที่เคยซื้อลู่วิ่งราคาแสนแพงเมื่อนานมาแล้ว เราหวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์

มันมีอยู่ “11 ข้อ” ที่คุณต้องรู้ ก่อนที่คุณจะสามารถเลือกลู่วิ่งที่คุ้มค่าต่อความต้องการของคุณ หากคุณอ่านจบแล้ว และยังมีข้อสงสัยอยู่ เรายินดีให้คำแนะนำเพิ่มเติม

11 ข้อเปรียบเทียบที่คุณต้องรู้ ก่อนซื้อลู่วิ่งไฟฟ้า

ลู่วิ่งไฟฟ้า-0

กดดูวีดีโอ สรุป 11 ข้อ (ยาว 3:40 นาที)

ลู่วิ่งไฟฟ้า-1มอเตอร์ลู่วิ่งจะวัดพลังเป็นหน่วย “แรงม้า” หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า “Horsepower” ตัวย่อ “HP”

ลู่วิ่งไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่ใช้สำหรับในบ้านจะมีแรงม้าตั้งแต่ 1 แรงม้า ถึง 3 แรงม้า ซึ่งเพียงพอต่อการใช้งานทั่วไปในบ้าน (Home Use) 

เปรียบเทียบง่ายๆ แรงม้าก็เหมือนเครื่องยนต์รถ 1000cc หรือ 3000cc แน่นอนว่า ยิ่งเครื่องแรงเท่าไหร่ กำลังของเครื่อง และความสามารถในการทำความเร็วสูงสุดก็จะมากขึ้นเท่านั้น แต่ราคาก็จะแพงตามขึ้นไป

คำแนะนำ: เพื่อให้เลือกซื้อได้อย่างคุ้มค่า คุณต้องเลือกแรงม้าที่เหมาะสม คุณอาจจะไม่จำเป็นที่ต้องซื้อแรงม้าที่เยอะเกินไป เพราะจะแพงเกินความต้องการในการใช้งานของคุณ

แล้วเราควรเลือกลู่วิ่งที่มีแรงม้าเท่าไหร่ดีละ ?

( กดเปิด เพื่ออ่านคำตอบ )

คำแนะนำทั่วไปคือคุณควรเลือกกำลังของมอเตอร์ตามจุดประสงค์การวิ่งของคุณ

  • ใช้เดิน – เลือก 1 แรงม้า
  • ใช้จ๊อกกิ้ง – เลือก 2.0 แรงม้า ขึ้นไป
  • ใช้วิ่งเร็ว – เลือก 3.0 แรงม้า ขึ้นไป

ตัวเลขที่แนะนำข้างบนคือการเลือกมอเตอร์ที่คุ้มค่าต่อจุดประสงค์ของคุณ คุณไม่จำเป็นต้องเลือกมอเตอร์ที่แรงเกินความจำเป็น เพราะคุณจะเสียเงินมากเกินประสิทธิภาพในการใช้งาน

แล้วมอเตอร์ที่แรงกว่านี้ มีไว้ทำไม: คุณอาจจะเห็นลู่วิ่งที่มี มอเตอร์ มากถึง  5 , 6  หรือ 7 แรงม้า ลู่วิ่งพวกนี้จะมีจุดประสงค์ในการใช้งานแบบส่วนรวม เช่นฟิตเนส ซึ่งมีคนใช้ติดต่อกันแบบไม่หยุดเครื่องเป็นเวลานาน เป็นเหตุผลที่ต้องการมอเตอร์ที่แรงและทรงพลัง แต่ถ้าเราไม่ได้ใช้วิ่งติดต่อกัน 5-8 ชั่วโมง เหมือนในฟิตเนส ลู่วิ่งประมาณ 2.0 – 3.0 แรงม้า ก็เพียงพอแล้ว และเป็นขนาดที่คุ้มค่าที่สุด สำหรับการใช้งานในบ้าน (Home Use)

ลู่วิ่งไฟฟ้า-2

เวลาพูดถึงขนาดของ “ลู่วิ่ง” ไม่ได้หมายความว่า ขนาดของตัวเครื่อง แต่หมายถึงขนาดของพื้นที่วิ่ง (ซึ่งก็คือขนาดของสายพาน)

ขอนี้สำคัญมากๆ คุณต้องสอบถามทุกครั้งว่าลู่วิ่งแต่ละตัวที่คุณเปรียบเทียบอยู่มีขนาด พื้นที่วิ่งเท่าไหร่ 

พื้นที่วิ่งคือส่วนที่เท้าของคุณสัมผัสพื้น (หรือเรียกว่าสายพาน) จะมีหน่วยวัดเป็น เซ็นติเมตร กว้าง x ยาว 

ข้อควรระวัง: บางร้านค้าจะนับขอบพักเท้า และเขียนรวมๆ เหมือนให้เข้าใจว่าเป็นขนาดพื้นที่วิ่ง ทำให้รู้สึกว่าลู่วิ่งตัวนั้นพื้นที่วิ่งใหญ่เป็นพิเศษ ซึ่งขอบพักเท้านั้นไม่เกี่ยวกับพื้นที่วิ่ง ต้องดูให้ดี

โดยทั่วไป ลู่วิ่งตัวไหนมีพื้นที่วิ่งยิ่งใหญ่เท่าไหร่ ราคาก็จะแพงขึ้นเท่านั้น

แล้วคุณควรเลือกลู่วิ่งขนาดเท่าไหร่ดีละ ?

( กดเปิด เพื่ออ่านคำตอบ )

ลู่วิ่งแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ ไม่ได้มีขนาดที่ FIX เหมือนเสื้อที่มีไซต์ S M L XL

ลู่วิ่งแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อมีความกว้าง และยาวที่หลากหลาย แต่งตากกันมากๆ เราเลยต้องแยกให้ได้ก่อนว่า ความกว้าง และความยาว มีความหมายอย่างไร 

ความกว้าง  เป็นหน่วยวัดความสบายในการวิ่ง ยิ่งพื้นที่วิ่งกว้างเท่าไหร่ เราก็จะรู้สึกมีอิสระในการวิ่ง เหมือนเราขับรถบนถนนเลนกว้าง vs. เลนแคบ เราขับรถตรงไปเหมือนกันใช้พื้นที่เท่ากัน แต่เรากลับรู้สึกสบายและอิสระกว่าเมื่อขับบนถนนเลนใหญ่ การวิ่งก็เหมือนกัน หากคุณมีงบจำกัด และเน้นความคุ้มค่า แนะนำให้เลือกลู่วิ่งที่กว้างไม่ต่ำกว่า 40cm หากคุณเน้นสบายก็สามารถเลือกลู่วิ่งกว้างเท่าที่งบเราจะไหวได้เลยครับ 

ความยาว – เป็นหน่วยวัดความสูงของคนวิ่ง และจุดประสงค์ในการใช้งาน เช่น (1) หากคุณซื้อลู่วิ่งมาไว้เพื่อเดินเร็ว คุณไม่จำเป็นต้องจ่ายแพงเพื่อซื้อลู่วิ่งที่ยาวเกินไป หรือ (2) ถ้าคุณตัวสูงกว่าคนปกติ คุณก็ต้องหาลู่วิ่งที่ยาวหน่อย เพื่อให้รองรับช่วงขาที่ยาวของคุณ โดยสามารถ ดูคำแนะนำความยาวได้ที่รูปด้านล่าง 

ลู่วิ่งไฟฟ้า-4

ลู่วิ่งไฟฟ้า-5

ความเร็วลู่วิ่งก็เหมือนความเร็วรถยนต์ ตัวเลขที่เห็นคือความเร็ว กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง แต่ละรุ่นจะทำความเร็วสูงสุดได้ไม่เท่ากัน แต่ไม่ได้หมายความว่าเราต้องเลือกลู่วิ่งที่ความเร็วสูงสุดเยอะ เพราะมันไม่มีประโยชน์อะไรหากเราใช้งานไม่ถึง

ลู่วิ่งส่วนมากที่ใช้ที่บ้านจะทำความเร็วสูงสุดได้ตั้งแต่ 12 – 22 กิโลเมตร/ชั่วโมง ยิ่งมอเตอร์แรงม้าเยอะ ก็จะทำความเร็วสูงสุดได้เยอะ

คำแนะนำเพิ่มเติม: แต่มันไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวว่า ลู่วิ่งแรงม้าเท่านี้ จะทำความเร็วสูงสุดได้เท่านี้ เพราะบางโรงงานก็ล็อคความเร็วสูงสุดไว้ (เหมือนรถยนต์) เพื่อถนอมไม่ให้มอเตอร์ถูกใช้งานหนักเกินไป ทำให้อายุการใช้งานสั้นลง

และก็เหมือนรถยนต์อีกเช่นกัน บางทีเราก็ไม่ได้ขับเร็วจนหมดไมล์ เพราะฉะนั้นรู้ความเร็วสูงสุดที่คุณต้องการใช้งานตามจุดประสงค์ของคุณ คุณจะได้ไม่ต้องจ่ายเงินซื้อความแรงที่คุณไม่เคยจะได้ใช้งาน

แล้วคุณควรวิ่งความเร็วขนาดไหนดีละ?

( กดเปิด เพื่ออ่านคำตอบ )

ลู่วิ่งไฟฟ้า-6

โดยปกติสำหรับการใช้งานที่บ้าน ใช้งานออกกำลังกายให้แข็งแรง จะนิยมวิ่งกันที่ความเร็วระหว่าง 6-10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งก็ถือว่าเร็วในระดับหนึ่ง และเป็นความเร็วที่เผาผลาญไขมันได้ดีที่สุดอีกด้วย

แต่หากว่าคุณเป็นวิ่งจริงจัง หรือใช้ซ้อมวิ่งเพื่อการแข่งขัน คุณอาจจะต้องดูตัวที่ทำความเร็วได้เยอะหน่อย เพื่อให้คุณวิ่งเร็วมากๆ ได้ 

ข้อสรุปคือ: หากคุณวิ่งเพื่อออกกำลังกาย ลู่วิ่งที่ทำความเร็วสูงสุดได้ 14-16 กิโลเมตร/ชั่วโมง ก็เพียงพอแล้ว แถมยังมีราคาไม่แพงอีกด้วย

ลู่วิ่งไฟฟ้า-7

หลายคนไม่รู้ว่าลู่วิ่งนั้นปรับความชันได้ ซึ่งนี้ก็คือข้อได้เปรียบอีกอย่าง เมื่อเทียบกับการวิ่งออกกำลังกายนอกบ้านที่เป็นการวิ่งบนพื้นเรียบตลอดทาง

ความชันของลู่วิ่งนั้นจะปรับโดยการนับเป็น ระดับ ที่สูงขึ้นมาจากพื้น 

ข้อควรระวัง 1: ลู่วิ่งบางตัวก็ปรับความชันไม่ได้ แต่ตัวที่ปรับได้จะมีตั้งแต่ การปรับความชันมีแบบปรับอัตโนมัติด้วยไฟฟ้า Auto (กดปุ่ม) และ ปรับเอง Manual (ใช้มือเปลี่ยน)  ต้องถามร้านค้าให้ดี (ตัวที่ปรับไฟฟ้าจะมีราคาแพงกว่า)

ลู่วิ่งปกติที่ปรับความชันด้วยมือแบบ (Manual) จะปรับได้ 1-3 ระดับ และที่ปรับด้วยไฟฟ้า จะปรับได้สูงสุด 12-18 ระดับ จากพื้น ซึ่งจะให้ความรู้สึกเหมือนการวิ่งขึ้นเขาที่ชันมากๆ

และก็แน่นอนยิ่งคุณปรับความชันมากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งเผาผลาญไขมัน และใช้พละกำลังของหัวใจมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี

ข้อควรระวัง 2: ลู่วิ่งแต่ละตัว ปรับแล้วความชันจะไม่เท่ากัน แม้ว่าตัวเลขจะเท่ากัน เพราะมาจากต่างโรงงาน ทางที่ดีที่สุดคือต้องไปทดลองเองที่ โชว์รูม หรือหากไม่สะดวก แนะนำให้ถามร้านค้าให้ส่งรูปตอนปรับความชันสูงสุดให้ดู

แล้วคุณสงสัยมั้ยว่าเราจะปรับความชันลู่วิ่งได้ยังไง?

( กดเปิด เพื่ออ่านคำตอบ )

ลู่วิ่งที่ปรับความชันได้ จะปรับความชันได้สองแบบคือ (1) ปรับด้วยไฟฟ้า แบบอัตโนมัติ และ (2) ปรับเองด้วยมือ โดยการใส่สลัก 

การปรับด้วยไฟฟ้าเป็นที่นิยมกว่ามาก เพราะสะดวกปรับขึ้นลงได้อย่างรวดเร็ว ลู่วิ่งส่วนมากจะมีปุ่มให้ปรับอยู่ตรงราวจับ หรือไม่ก็ที่หน้าจอ ข้อเสียก็ระบบไฟฟ้าจะมีราคาแพง ส่วนมากจะอยู่จะมีอยู่ในลู่วิ่งราคา หนึ่งหมื่นปลาย ถึง สองหมื่น เป็นต้นไป

ข้อควรระวัง เพราะระบบไฟฟ้ามีต้นทุนสูงหากเจอลู่วิ่งที่ราคาต่ำ ต้องสงสัยไว้ก่อนว่าเป็นระบบปรับด้วยมือหรือเปล่า ต้องถามร้านค้าให้แน่ชัดก่อน

วิธีสังเกตุระบบปรับด้วยมือจากรูปภาพ ให้ดูตรงส่วนท้ายของเครื่องจะสังเกตุชิ้นส่วนสำหรับปรับระดับอยู่ส่วนมากจะมี 3 รู ก็คือสามารถปรับได้เพียง 3 ระดับเท่านั้น

ลู่วิ่งไฟฟ้า-8

 

MEGA Fitness ขอยืนยันว่าการวิ่งบนลู่วิ่งนั้น ดีกว่าการวิ่งข้างนอกอย่างแน่นอน ให้เรื่องของประสิทธิภาพและความปลอยภัยของเข่า

ลู่วิ่งที่ดีจะมีระบบซับแรงกระแทก เพื่อช่วยทำให้การวิ่งนั้นนุ่มสบาย และไม่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมสภาพเร็วเมื่อการวิ่งข้างนอก 

เพราะการวิ่งข้างนอกนั้น รองเท้าเราจะสัมพัสกับพื้นแข็ง ซึ่งจะสะท้อนแรงกลับมาที่เข่าเราเต็มๆ แต่การวิ่งบนลู่นั้นแรงกระแทกจะถูกกระจายลงบนลู่ และสะท้อนกลับมาที่เข่าเราน้อยลง

แล้วระบบซักแรงกระแทกมันมีกันกี่แบบละ ?

( กดเปิด เพื่ออ่านคำตอบ )

ลูวิ่งแต่ละรุ่นจะมีระบบซับแรงกระแทกไม่เหมือนกัน แล้วแต่เทคโนโลยีของแต่ละเจ้า แต่ส่วนมากเราจะสามารถสังเกตุระบบนี้ได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งมันจะอยู่ใต้กระดานวิ่ง

ยกตัวอย่างระบบซับแรงกระแทก 3 แบบหลักๆ (1) แบบโช๊ค (2) แบบ แอร์-คุชชั่น (3) แบบ ซอฟต์-คุชชั่น ตามรูปข้างล่าง ฟีลลิ่งของการวิ่งบนสามระบบนี้ก็จะให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน

ลู่วิ่งไฟฟ้า-10คำแนะนำเพิ่มเติม: บางรุ่นไม่สามารถมองเห็นด้วยตาจากภายนอก แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่มีระบบซับแรงกระแทก เพราะเพื่อความสวยงามของดีไซน์ บางเจ้าจะซ่อนระบบลดแรงไว้ใต้กระดานวิ่ง แบบรูปข้างล่าง

ลู่วิ่งไฟฟ้า-0

ข้อสรุป: หากเป็นไปได้ แนะนำให้ทดลองสินค้าที่ร้านค้านั้นๆ แต่หากไม่สามารถทำได้ให้ สอบถามทางร้านให้แน่ชัดถึงระบบที่เครื่องแต่ละตัวนั้นมี

ลู่วิ่งไฟฟ้า-12

รูปลักษณ์หน้าจอของลู่วิ่งแต่ละตัวจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แล้วแต่การออกแบบ แต่สิ่งที่ไม่ต่างเลยคือฟังก์ชั่นการใช้งาน

ลู่วิ่งทุกตัวควรจะมีฟังก์ชั่นหลัก 6 อย่าง คือ (1) ค่าความเร็ว (2) ค่าความชัน (3) แคลอรี่ที่เผาผลาญ (4) ระยะทางที่วิ่ง (5) การเต้นของหัวใจ และ (6) เวลาในการวิ่ง

มีครบ 6 ออฟชั่นนี้ก็เพียงพอต่อการใช้งาน หากมีนอกเหนือจาก 6 ฟังก์ชั่นนี้ ถือเป็นออฟชั่นเสริม 

หลายคนไม่รู้: ว่ารู้วิ่งบางตัวนั้นมีลำโพงติดมาด้วย (ไม่ใช่ทุกตัวต้องสอบถามให้ดี) และสามารถต่อกับมือถือผ่านสาย AUX คุณภาพและความดังของลำโพงแต่ละตัวนั้นก็แตกต่างกันไป

ลู่วิ่งไฟฟ้า-13

โปรแกรมวิ่ง อัตโนมัติ: นอกเหลือจากฟังก์ชั่นแล้ว ลู่วิ่งบางตัวยังมีโปรแกรมวิ่งอัตโนมัติแถมมาให้อีก  

ลู่วิ่งไฟฟ้า-1

โดยปกติลู่วิ่งแต่ละตัวจะมีโปรแกรมไม่ต่ำกว่า 10-12 โปรแกรม 

แล้วคุณสงสัยมั้ยว่าโปรแแกรมอัตโนมัติมันดูยังไง?

( กดเปิด เพื่ออ่านคำตอบ )

ลู่วิ่งไฟฟ้า-14

จากตัวอย่างในหน้าข้างบน 1 กล่องเขียว คือเลเวลของความเร็ว ณ จุดเริ่มต้น ระบบจะค่อยๆปรับความเร็วเราขึ้นสังเกตุได้ตามจำนวนกล่องเขียวที่มากขึ้น

ส่งที่คุณต้องทำอย่างเดียวคือใส่เวลาที่อยากจะวิ่ง และระบบจะเปลี่ยนจากการนับเวลาเดินหน้า เป็นนับเวลาถอยหลังให้แทน

ไม่ต้องกลัวไป: หากคุณไม่ไหวกับความเร็วที่ระบบกำหนด คุณสามารถปรับค่าความเร็วได้เองตลอดเวลา

การใช้โปรแกรมอัตโนมัติก็ช่วยทำให้การวิ่งเราสนุก ไม่ซ้ำซากและท้าทายความสามารถเรามากขึ้น

ลู่วิ่งไฟฟ้า-15

ลู่วิ่งไฟฟ้า-c0

หลายคนเข้าใจผิดว่าต้องดูโครงสร้างความแข็งแรงของเครื่องอย่างเดียว เมื่อพูดถึงการรับน้ำหนักผู้เล่นสูงสุด

จริงๆๆแล้วการเลือกซื้อที่เหมาะสมกับน้ำหนักตัวคุณต้องคำนึงถึง 3 ปัจจัย ซึ่งก็คือ (1) น้ำหนักคนวิ่ง (2) น้ำหนักเครื่อง (3) ขนาดของมอเตอร์

แล้ว 3 อย่างนี้ต้องคำนึงถืงอะไรบ้าง?

( กดเปิด เพื่ออ่านคำตอบ )

น้ำหนักคน – สำคัญที่สุด เมื่อเรารู้น้ำหนักคนวิ่ง เราก็จะสามารถรู้ น้ำหนักของเครื่อง และกำลังของ มอเตอร์ที่เราต้องการใช้งาน 

น้ำหนักเครื่อง – ยิ่งคุณตัวหนักมากเท่าไหร่ คุณควรจะมองหาเครื่องวิ่งที่มีน้ำหนักตัวเครื่องมากขึ้นเท่านั้น MEGA Fitness แนะนำให้คุณมองหาลู่วิ่ง “ที่หนักเท่าตัวคุณเป็นอย่างน้อย” เพื่อให้เกิดความเสถียรในการวิ่ง หากที่บ้านคุณใช้วิ่งหลายคนให้อิงจากคนที่น้ำหนักตัวมากที่สุด

ขนาดมอเตอร์ – MEGA Fitness แนะนำไปข้างต้นว่าลู่วิ่งที่ใช้ในบ้านควรมีกำลังมอเตอร์ 2.5-3.0 แรงม้า หากคุณน้ำหนักตัวมากเช่น 70-100กิโล ควรมองหามอเตอร์ประมาณ 3 แรงม้า ไม่อย่างงั้น “จะเกิดอาการเครื่องอืดเวลาวิ่ง” หากคุณน้ำหนักตัว 50-70 กิโล ลู่วิ่งขนาด 2.5 แรงม้าก็เพียงพอแล้ว

คำแนะนำ: ยิ่งมอเตอร์แรง ก็จะลากสายพาน + น้ำหนักคนที่วิ่งอยู่บนสายพานได้มากกว่า และไม่ทำให้มอเตอร์ทำงานหนักเกินไป

ลู่วิ่งไฟฟ้า-17

ลู่วิ่งไฟฟ้า-18ไม่ใช่ลู่วิ่งทุกตัวที่สามารถพับเก็บได้ แต่หากคุณใช้ที่บ้าน และใช้วางในพื้นที่ส่วนรวม การพับเก็บนั้นจำเป็นมากๆ และจะช่วยให้คุณประหยัดพื้นที่ใช้สอยของบ้านได้อีกเยอะ

สอบถามร้านค้าให้แน่ใช้ถึงวิธีการพับเก็บว่ายากง่ายแค่ไหน เพราะแต่ละรุ่นก็มีระบบพับไม่เหมือนกัน

คุณรู้หรือไม่ว่า ระบบพับเก็บ มีกี่แบบ?

( กดเปิด เพื่ออ่านคำตอบ )

ลู่วิ่งไฟฟ้า-19

ระบบพับเก็บนั้นมีสองแบบ 

(1) พับแบบ ยกกระดานวิ่ง: พับโดยการยกกระดานขึ้น เวลาใช้งานสามารถกางออกได้ง่ายส่วนมากจะมีตัว โช็คช่วย ทำให้พับและกางได้ง่ายขึ้น (เป็นระบบที่มีให้เห็นเยอะที่สุด)

(2) พับจาก หน้าจอลงมา: จะเป็นการพับโดยการกดหน้าจอลงมา พับยากกว่าระบบโช็คนิดหน่อย และส่วนมาก ลู่วิ่งที่พับแบบนี้จะเป็นลู่วิ่ง ขนาดเล็ก และไม่ต้องประกอบคิดตั้ง (ยกออกจากกล่องแล้ว กางใช้งานได้เลย)

ลู่วิ่งไฟฟ้า-20

การรับประกันคือจุดตัดสินร้านที่ดี ออกจากร้านที่ไม่ดี สิ่งที่มือใหม่ส่วนมากทำพลาดคือตัดสินใจซื้อจากระยะเวลาประกันอย่างเดียว 

ข้อควรระวัง 80% ของร้านค้าที่ขายลู่วิ่งที่ราคาถูกนั้น อาจจะไม่ใช้ร้านค้ามืออาชีพ และเป็นแค่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่ไม่มีศักยภาพในการให้บริการหลักการขาย

สิ่งที่คุณควรทำ คือคุณต้องสอบถาม เงื่อนไขการรับประกันให้ละเอียด เช่น (1) หากเสียแล้วต้องทำยังไง (2) ชิ้นส่วนไหนรับประกันบ้าง (3) แต่ละชิ้นส่วนรับประกันกี่ปี (4) แจ้งซ่อมที่ไหน และต้องรอกี่วัน ต้องถามให้ละเอียด อย่าตัดสินใจเพียงดูระยะเวลารับประกันเป็นอันขาด

 

ลู่วิ่งไฟฟ้า-21

อีกเรื่องที่มือใหม่หัดซื้อลู่วิ่งไม่รู้ก็คือ ลู่วิ่งเป็นอุปกรณ์ออกกำลังกาย ที่ติดตั้งง่ายที่สุด และใช้เวลาไม่เกิน 5 นาทีในการติดตั้ง เพราะสินค้าส่วนมากจะประกอบใส่กล่องไว้ให้แล้ว

ข้อควรระวัง: ลู่วิ่งที่ขนาดตัวเล็ก และปานกลาง (น้ำหนักเครื่อง 40-70 กิโล) จะสามารถประกอบเองได้โดยง่าย โดยที่อาจจะไม่จำเป็นต้องให้คนมาส่งติดตั้ง แต่สำหรับลู่วิ่งที่พรีเมี่ยมขึ้นมา และมีน้ำหนักมากขึ้นเช่น 90 – 100กิโล + ขึ้นไป อาจจะเป็นการที่ดีกว่าที่ให้ทีมมาส่งติดตั้ง เพราะด้วยน้ำหนักที่มาก การขนย้ายอาจจะยากสำหรับคนที่อยู่บ้านกันไม่กี่คน

แต่เพื่อความสะดวกสบายของคุณ บางร้านมีศักยภาพในการให้บริการส่งและติดตั้งถึงที่ ส่วนมากจะเป็นร้านค้าที่เป็นมืออาชีพ หากร้านนั้นสามารถมาส่งและติดตั้งถึงบ้านคุณได้ คุณควรเลือกร้านนั้น เพราะในทางเดียวกัน ร้านนั้นก็จะสามารถให้บริการหลังการขายคุณได้อย่างว่องไว

ลู่วิ่งไฟฟ้า-22

คุณต้องแยกก่อนว่าการบริการหลังการขายนั้นมีสองช่วง (1) การบริการหลังการขาย สำหรับช่วงเวลารับประกัน และ (2) หลังจากหมดระยะเวลาประกัน

นี้คือสิ่งที่คนซื้อมือใหม่ไม่ค่อยจะถาม เพราะว่าการบริการ และค่าใช่จ่ายนั้นในแต่ละช่วงอาจจะแตกต่างกันสินเชิง

MEGA Fitness แนะนำให้คุณสอบถามเงื่อนไขการบริการหลังการขาย โดยแบ่งเป็น ช่วยระยะประกัน และ นอกระยะเวลาประกัน ให้แน่ชัดก่อนตัดสินใจ